การนำไฟฟ้าของแก๊ส
ปกติแก๊สเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี
ปรากฏการณ์ที่ยืนยันได้ว่าแก๊สนำไฟฟ้าได้ก็คือการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
แก๊สนำไฟฟ้าได้ดีขึ้นเมื่อแก๊สมีความดันต่ำ ๆ
และมีความต่างศักย์ของขั้วไฟฟ้าสูง ๆ
การที่แก๊สนำไฟฟ้าได้เพราะแก๊สสามารถแตกตัวเป็นไอออนบวกและอิเล็กตรอน เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าศักย์สูง ๆ เช่น แก๊สฮีเลียม (He) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) จะเกิดการแตกตัวดังสมการ
He(g) ----> He+(g) + e–
H(g) ----> H+(g) + e–
------------------------------------------------------------------------------------------------------
การค้นพบโปรตอน
ในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1866) ออยเกน โกลด์ชไตน์
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ได้ทำการทดลองโดยเจาะรูที่ขั้วแคโทดในหลอดรังสีแคโทด
พบว่าเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดรังสีแคโทดจะมีอนุภาคชนิดหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดผ่านรูของขั้วแคโทด และทำให้ฉากด้านหลังขั้วแคโทดเรืองแสงได้ โกลด์ชไตน์ได้ตั้งชื่อว่า “รังสีแคแนล”
(canal ray) หรือ
“รังสีบวก”(positive ray) สมบัติของรังสีบวกมีดังนี้
1.
เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังขั้วแคโทด
2.
เมื่อผ่านรังสีนี้ไปยังสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า รังสีนี้จะเบี่ยงเบนไปหาขั้วลบ
แสดงว่ารังสีนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก
3.
มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่คงที่
ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สในหลอด
และถ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจนรังสีนี้จะมีอัตราส่วนประจุต่อมวลสูงสุด เรียกอนุภาคบวกในรังสีแคแนลของไฮโดรเจนว่า “โปรตอน”
4.
มีมวลมากกว่ารังสีแคโทด
เนื่องจากความเร็วในการเคลื่อนที่ต่ำกว่ารังสีแคโทด
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น